2. แมลงกลุ่มที่มีเหล็กใน
แมลงกลุ่มนี้ทำอันตรายคนโดยการต่อย หรือการกัด หรือทั้งต่อยและกัด ชนิดที่ก่อให้เกิดอันตรายกับประชาชน
ประกอบด้วย


ภาพผึ้งเลี้ยง
2.1 กลุ่มผึ้ง ซึ่งเป็นแมลงอยู่ในวงศ์
Apidae ได้แก่ผึ้งเลี้ยง (Apis mellifera), ผึ้งโพรง (Apis indica), ผึ้งมิ้ม (Apis
florea) และผึ้งหลวง (Apis indica) เป็นต้น
มีลักษณะโดยทั่วไปคือลำตัวมีสี เหลืองน้ำตาลขาหลังมีอวัยวะพิเศษสำหรับเก็บเกสรเรียกว่าตะกร้าเก็บเกสร
มีปีก 2 คู่มีขนตาม ลำตัว ซึ่งมีลักษณะเป็นขนละเอียด ส่วนปลายท้องของผึ้งงานและผึ้งนางพญามีเหล็กในยื่นออกมา
เห็นได้เด่นชัด
ส่วนประกอบของเหล็กในผึ้ง
เป็นสารประกอบโปรตีนที่ผึ้งงานปล่อยออกมาจากต่อมสร้างพิษ
ผ่านออกมาทางท่อเหล็กใน เพื่อไว้ใช้ป้องกันรังเวลาที่ศัตรูบุกรุก
พิษผึ้งมีลักษณะเป็นของเหลวใส มีรสขม มีกลิ่นของสารอโรมาติก คล้ายกลิ่นนมแมว
มีฤทธิ์เป็นกรด และมีความถ่วงจำเพาะ 1.313 เป็นสารอินทรีย์เคมี ที่ออกฤทธิ์เร็วและรุนแรง ทำให้แมลงบางชนิดตาย
พิษจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วองค์ประกอบทางเคมีของพิษผึ้งมีคุณค่าทางการแพทย์ เช่น ฮีสตามีน (Histamine) เซอโรโตนิน (Serotonin) โดพามิน (Dopamine) ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโน และเอนไซม์เป็นองค์ประกอบเล็กน้อย
อันตรายจากผึ้ง
ผึ้งเป็นแมลงที่ทำร้ายคนด้วยการต่อยโดยใช้เหล็กในที่อยู่ปลายท้องโดยเมื่อต่อยแล้วผึ้ง
จะทิ้งเหล็กในไว้ตรงบริเวณที่ถูกต่อยดังนั้นเราไม่ควรบีบหรือขยี้บริเวณที่ถูกต่อยเพราะจะทำให้เหล็กในยิ่งฝังลึกลงไปในผิวหนังและน้ำพิษจะกระจายมากขึ้น
ดังนั้นเราจึงควรค่อยๆดึงเหล็กใน ออกมา น้ำพิษของผึ้งมีหลายประเภท อาการเมื่อได้รับพิษแล้วจะเกิดได้
ตั้งแต่อาการเฉพาะที่ใน บริเวณที่ถูกต่อย
ได้แก่ ปวด บวม แดงร้อน หรือเป็นผื่นแพ้จนถึงอาการที่พิษเข้าไปตามกระแส โลหิต ทำให้เกิดอาการทั่วร่างกายเช่นหลอดเลือดบวม
หายใจขัดคลื่นไส้อาเจียน แน่นท้อง ท้องเดิน เป็นลม ช็อกและอาจเสียชีวิตได้ในผู้ที่มีอาการรุนแรง
แหล่งที่พบ
ผึ้งสามารถพบได้ทั่วไป
โดยจะพบทำรังอยู่ใกล้บริเวณต้นไม้ ที่ผึ้งสามารถไปหาอาหาร ได้และบางครั้งพบผึ้งมาหาอาหารบริเวณที่มี่
ขนม หรือของหวานได้เช่นกัน
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงไม้ไปรบกวนรังผึ้ง หรือเข้าไปอยู่บริเวณที่มีรังผึ้งแต่ถ้าถูกผึ้งต่อยให้ค่อยๆดึง
เหล็กในออกจากบาดแผลดังที่กล่าวมาแล้ว ส่วนการรักษาอาการพิษทำได้โดยใช้น้ำแข็งประคบ
บริเวณที่ถูกต่อยถ้าปวดมากให้รับประทานยาระงับปวดและอาจรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อลด
อาการอักเสบ และเพื่อป้องกนการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ในบางรายที่มีอาการรุนแรง
เช่น ช็อกให้รีบไปพบแพทย์ทันที อย่างไรก็ตามความรุนแรงของพิษจะขึ้น
กับจำนวนแผลที่ถูกต่อย ปริมาณพิษที่ได้รับ อายุน้ำหนักตัวของผู้ถูกต่อยและประวัติการแพ้ของคนไข้เช่น
พวกมีประวัติ เป็นโรคภูมิแพ้มักจะมีอาการรุนแรงกว่าคนอื่น
2.2 ตัวต่อ
เป็นแมลงอยู่ในวงศ์ Vespidae ชนิดที่มีความสำคัญได้แก่ ต่อหัวเสือ (Vespa
affinis) มี ลักษณะโดยทั่วไปคือลำตัวมีความยาวตั้งแต่ 10-30 มม. ส่วนใหญ่มีสีเหลืองและดำ เมื่อเกาะอยู่กับที่ จะพับปีกไปตามความยาวของลำตัว
อันตรายจากตัวต่อ
ต่อเป็นแมลงที่ทำร้ายคนด้วยการต่อยโดยใช้เหล็กในที่อยู่ปลายท้องโดยต่อได้ดัดแปลง
อวัยวะที่ใช้ ในการวางไข่ให้เป็นเหล็กใน การต่อยของต่อจะแตกต่างจากผึ้งคือต่อสามารถต่อยโดย
การฝังเหล็กในเข้าในตัวศัตรูหรือเหยื่อได้หลายครั้ง ในขณะที่ผึ้งสามารถทำได้เพียงครั้งเดียว
ส่วนอาการเมื่อได้รับพิษ ผู้ถูกต่อยจะมีอาการเช่นเดียวกับถูกผึ้งต่อยคือจะเกดอาการได้
ตั้งแต่อาการ เฉพาะที่ในบริเวณที่ถูกต่อยได้แก่ปวด
บวม แดงร้อน เป็นผื่นแพ้หรือถ้ารุนแรงอาการปวดบวม อาจลามเป็นบริเวณกว้างได้ส่วนอาการอื่นๆที่เกิดขึ้นไดคืออาการที่พิษเข้าไปตามกระแสโลหิต
ทำให้เกิดอาการทั่วร่างกายเช่นหลอดเลือดบวม หายใจขัด คลื่นไส้อาเจียน แน่นท้อง ท้องเดิน
เป็นลม ไตวาย ปัสสาวะเป็นเลือด รวมทั้งมีฤทธิ์ต่อระบบหัวใจระบบประสาท ช็อกและอาจเสียชีวิตได้ใน
ผู้ที่มีอาการรุนแรง
แหล่งที่พบ
ต่อสามารถพบได้ทั่วไป
โดยบางครั้งจะพบทำรังอยู่ใกล้บริเวณที่อยู่อาศยของคน หรือมา สร้างรังอยู่ในบริเวณที่พักอาศัยของเราได้
การป้องกัน
ได้แก่การไม่รบกวนรังของตัวต่อ
ส่วนในกรณีที่มีตัวต่อมาสร้างในบริเวณบ้าน ให้ทำการ ย้ายรังตั้งแต่ยังเป็นรังขนาดเล็ก
ซึ่งภายในจะมีเพียงต่อนางพญาเท่านั้น ในกรณีที่จะย้ายรังที่เป็นรัง ใหญ่ควรให้ผู้มีความชำนาญเป็นผู้กระทำและหลีกเลี่ยงไม่
เข้าไปอยู่บริเวณที่มีรังต่อแต่ถ้าถูกตัวต่อ
ต่อยจะสามารถรักษาอาการพิษทำได้โดยใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่ถูกต่อยถ้าปวดมากให้รับประทานยาระงับปวดและอาจรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อลดอาการอักเสบ
และเพื่อป้องกันการ ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ในบางรายที่มีอาการรุนแรง เช่น ช็อกให้รีบไปพบแพทย์
ทันที อย่างไร ก็ตามความรุนแรงของพิษจะขึ้นกับจำนวนแผลที่ถูกต่อย
2.3 มด
เป็นแมลงที่อยู่ในวงศ์ Formicidae ที่พบทําอันตรายกับคนเสมอได้แก่ มดคันไฟ (Solenopsis
geminata), มดแดง (Oecophylla smaragdina), และมดตะนอย
(Tetraponera rufonigra) เป็นต้น มดจะมีลักษณะโดยทั่วไปแตกต่างจากแมลงชนิดอื่นเห็นได้เด่นชัดคือ
หนวดจะมีลักษณะ หักงอเป็นข้อศอกและมีเอวคอดกิ่ว มีสีและขนาดแตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดของมด
อันตรายจากมด มด สามารถทำอันตรายคนโดยการกัด การต่อย หรือมดบางชนิดเช่นมดคันไฟสามารถทำ
อันตรายคนได้ทั้งกัดและต่อยการต่อยของมดจะเช่นเดียวกับตัวต่อคือจะต่อยได้หลายครั้งติดต่อกัน
น้ำพิษของมดเช่นมดคันไฟ จะประกอบด้วยสารที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเซลล์ทำให้เซลล์บริเวณที่ถูก
ต่อยเกิดเป็นตุ่มหนอง และอาจเป็นแผลลามกว้างขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อในบริเวณนั้น แต่ที่เป็นอันตราย
คือในน้ำพิษจะมีสารที่เมื่อเข้าสูกระแสโลหิตจะทำให้เกิดอาการแพ้เช่นหลอดเลือดบวม
หายใจขัด คลื่นไส้อาเจียน แน่นท้อง ท้องเดิน เป็นลม ช็อกและอาจเสียชีวิตได้ในผู้ที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง
แหล่งที่พบ
มดสามารถพบได้ทั่วไป
โดยบางครั้งจะพบทำรังอยู่ใกล้บริเวณที่อยู่อาศัยของคน เช่นมดคัน ไฟจะทำรังอยู่ใต้ดินบริเวณดินทรายรอบๆบ้าน
มดแดงจะทำรังอยู่ตามต้นไม้เช่นต้นมะม่วง ต้น ชมพู่ ส่วนมดตะนอยจะทำรังอยู่ตามต้นไม้ทีตายแล้ว
มดที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไปคือมดงานที่ออกจาก รังมาหาอาหารเพื่อนำกลับไปเลี้ยงมดตัวอ่อนๆภายในรัง
การป้องกัน
ทำได้โดยหลีกเลี่ยงไม่
ไปรบกวนรังมด หรือหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปในบริเวณที่มีมดอยู่เป็นจำนวนมากแต่ถ้าถูกมดกัดหรือต่อยให้รักษาอาการโดย
ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่ถูกกัดหรือต่อยนั้น และ พยายามรักษาความสะอาดโดยไม่
ไปแกะเกาถ้าปวดมากให้รับประทานยาระงับปวด ในบางรายที่มี อาการรุนแรง เช่น ช็อกให้รีบไปพบแพทย์ ทันทีอย่างไรก็ตามความรุนแรงของพิษจะเหมือนกับผึ้ง
และต่อคือจะขึ้นกับจำนวนแผลที่ถูกต่อย ปริมาณพิษที่ได้รับ อายุน้ำหนักตัวของผู้ถูกต่อยและ
ประวัติการแพ้ของคนไข้เช่น พวกมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้มักจะมีอาการรุนแรงกว่าคนอื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น