วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แมลงมีพิษในกลุ่มของด้วง

กลุ่มของแมลงพิษ แมลงพิษสามารถแบ่งกลุ่มได้ดังนี้
1. แมลงในกลุ่มของด้วงประกอบด้วย ภาพด้วงน้ำมัน

 


1.1 ด้วงน้ำมัน
ด้วงน้ำมันเป็นแมลงปีกแข็งจำพวกด้วงชนิดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในวงศ์ Meloidae  มีชื่อเรียกแตกต่างกัน ไป โดยภาคกลางเรียกด้วงโสน แมงลายขี้เมา ภาคใต้เรียกว่า ด้วงไฟเดือนห้า ทางภาคเหนือเรียก แมลงฮึ่มไฮ้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เคยได้รับแมลงชนิดนี้ส่งมาเพื่อตรวจวิเคราะห์ จำแนกชนิด หลายครั้งจากหลายจังหวัดตามลำดับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2532 จนถึงปีปัจจุบันเนื่องจากปัญหาที่ประชาชนมี ความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแมลงประเภทกินได้นำไปบริโภคแล้วเกิดพิษทำให้เจ็บป่วยอย่างรุนแรง จนบางรายถึงกับเสียชีวิต ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบด้วงน้ำมันไดหลายชนิด (ประมาณ 13 ชนิด) ชนิดที่พบอยู่จะเป็นชนิด Mylabris phalerata (ภาพด้วงน้ำมัน เบอร์ 1 ) มีลักษณะสำคัญที่เห็นได้ชัดคือ หัว อก ลำตัว และขาสีดำ มีปีกแข็ง มีลายขวางสีเหลืองส้มสลับดำโดยจะเป็นสีเหลืองส้ม 3 แถบ ดำ 3 แถบ ส่วนท้ายของปล้องที่ 9 เว้าลึกและแคบ ลำตัวกกว้าง 7-8 มม. ยาว 22-27 มม. ส่วนด้วงน้ำมันอีกสอง ชนิดที่อาจพบได้คือ Epicauta hirticornis (ภาพด้วงน้ำมัน เบอร์2) ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ หัวสี น้ำตาลอกลำตัวขาและ ปีกสีดำไม่มีลายบนปีกแข็งขนาดของลำตัวกว้าง 3-5 มม. ยาว 12-21 มม. เบอร์1 เบอร์เบอร์ 3  และชนิด Epicauta malkini (ภาพด้วงน้ำมัน เบอร์ 3) โดยตัวเต็มวัยมีขนาดประมาณ 27 มม. มี ลักษณะที่สำคัญเห็นไดเด่น ชัดคือ ปีกคู่หน้ามีสีเหลืองและปลายปีกสีดำ หัวสีแดงด้วงน้ำมันทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวรวมทั้งด้วงน้ำมันชนิดอื่นๆมีอันตรายมากสารพิษ ห้ามนำมารับประทานโดยเด็ดขาด

อันตรายจากด้วงน้ำมัน
 ด้วงชนิดนี้มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นแมลงที่ชาวบ้านมักจะเข้าใจผิดนำมาเผาไฟ รับประทาน ซึ่งทำให้กิดอันตราย โดยไมทราบว่า ภายในร่างกายของแมลงพวกนี้มีสารทีเรียกว่า แคนทาริดิน (Cantharidin) อยู่ในลำตัวซึงมีพิษต่อสิ่งมีชีวิต ตามปกติเมื่อถูกรบกวนด้วงน้ำมันจะ ขับสารนี้ออกมาทันทีโดยจะเป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง เมื่อโดนผิวหนังจะทำ ให้เป็นแผลพองปวดแสบปวดร้อน ถ้าเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบ และที่สำคัญคือกินแล้วถึงตายได้โดย อาการของผู้ป่วยที่พบคือ มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงคลื่นไส้ อาเจียนมีเลือดปน ถ่ายอุจจาระและ ปัสสาวะมีเลือดปนด้วยและตายในที่สุดเนื่องจากสารพิษดังกล่าวจะทำให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรง ต่อเยื่อเมือกในระบบทางเดินอาหาร  จากการตรวจวิเคราะห์ของกองพิษวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปี 2532  พบว่าด้วงน้ำมัน ชนิด M.phalerata 1 ตัว มีสารแคนทาริดิน ประมาณ 6 มิลลิกรัม เนื่องจากร่างกายได้รับสาร แคนทาริดิน ในปริมาณ 10 มิลลิกรัมขึ้นไปจะทำ ให้เป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นถ้ารับประทาน เพียง 2-3 ตัวก็ทำให้เสียชีวิตได้

แหล่งที่พบ 
ด้วงน้ำมันจะพบมากอยู่ตามต้นแค ต้นโสน พืชตระกูลถั่ว มะเขือเทศและ ปอ
โดยจะบินเป็นกลุ่มมากินใบและดอกของพืชเหล่านี้เมื่อชาวบ้านมาพบเห็นเข้ามักจะเข้าใจผิดจับมารับประทาน โดยคิดว่าเป็นอาหาร หรือทำเป็นยาบำรุงกาลังได้  

การป้องกัน
 1. ประชาชนควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแมลงที่ยังไม่เคยรับประทานหรือไม่รู่จัก
 2. ครั้งแรกที่รับประทานแมลงควรรับประทานแต่น้อยก่อน เพราะแต่ละคนอาจแพ้ แมลงแต่ละชนิดได้ไม่เหมือนกัน
 3. ไม่รับประทานแมลงที่จับมาจากแหล่งที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
 4. ไม่รับประทานแมลงที่มีลักษณะผิดปกติเช่นแมลงเน่าเสีย
 5. ปรุงให้สุกทุกครั้งก่อนนำมารับประทาน
6. ถ้ามีอาการผิดปกติจากการรับประทานแมลงควรรีบไปพบแพทย์ทันทีพร้อมทั้งนำแมลง ไปด้วย

1.2 ด้วงก้นกระดก

 ภาพด้วงก้นกระดกหรือแมลงเฟรชชี่
ด้วงก้นกระดก เป็นด้วงอีกชนิดหนึ่งที่พบว่าทำให้เกิดอันตรายกับประชาชนอยู่เสมอ โดย บางครั้งประชาชนจะเรียกแมลงชนิดนี้ว่าแมลงเฟรชชี่ เนื่องจากจะพบมากในช่วงเปิดเทอมซึ่งเป็น ช่วงที่เข้าสู่ฤดูฝน ด้วงก้นกระดกเป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก คือมีความยาวประมาณ 4-7 ม.ม จัดเป็น แมลงใน วงศ์ Staphylinidae ชนิดที่พบอยู่ในบ้านเราคือชนิด Paederus fuscipes เหตุที่ได้ชื่อว่า ด้วงก้นกระดกเนื่องจากเป็นแมลงที่มีนิสัยชอบงอส่วนท้องขึ้นๆลงๆ ตลอดเวลา ลักษณะที่เห็นได้เด่นชัดของแมลงชนิดนี้คือปีกคู่แรกแข็งสั้น ปีกคู่ที่สองใหญ่เจริญใช้การได้ดีพับอยู่ใต้ปีกคู่แรก ส่วนท้องยาวโผล่ออกมานอกปีกสังเกตเห็นได้ง่ายและมีสีสัน ต่างๆกัน เช่น สีส้ม สีแดง เป็นต้น

อันตรายจากด้วงก้นกระดก
ด้วงกนกระดกมีสารพิษประเภทชนิด พีเดอริน (Paederin) ซึ่งถ้าถูกผิวหนังจะทำให้เป็น แผลผุพอง บวมแดง ปวดแสบปวดร้อน และมีไข้ ถ้าเข้าตาก็จะทำให้ตาอักเสบ จนถึงตาบอดได้โดยปกติแมลงพวกนี้จะไม่กัดคน แต่เมื่อเผอิญไต่ขึ้นมาตามร่างกายแล้วไปตบตีหรืออทำให้ลำตัว แตกหัก น้ำพิษดังกล่าวก็จะซึมเข้าร่างกายและมีผลทำให้เกิดอาการดังกล่าว แหล่งที่พบ ด้วงก้นกระดกพบอาศัยอยู่ตามกองมูลสัตว์ตามดินใต้หินและกองไม้ต่างๆ หรือตามต้นพืช ที่มีลักษณะเป็นเถาปกคลุมให้ความชุ่มชื้น ชอบบินเข้ามาเล่นไฟในบ้านเรือนในเวลากลางคืนจึงทำ ให้คนมีโอกาสได้รับพิษจากแมลงชนิดนี้

การป้องกัน
เราสามารถป้องกันตัวจากด้วงก้นกระดกได้โดยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสกับแมลง ชนิดนี้และถ้าเผอิญแมลงไต่ขึ้นมาตามลำตัวอย่าไปตีหรือบีบเพราะจะทำให้ แมลงลำตัวแตกหัก ทำให้น้ำพิษออกมาสัมผัสกับผิวหนังของเราได้ควรลดกำลังส่องสว่างของแสงไฟในห้องทำงานใน เวลากลางคืนโดยการติดตั้งให้ต่ำลง หรือใช้โป๊ะบังคับให้แสงส่องในบริเวณที่ต้องการเนื่องจากด้วงก้นกระดกจะชอบบินมาเล่นไฟในเวลากลางคืน รวมทั้งควรอยู่ในห้องมุ้งลวดในเวลาค่ำคืน และถ้า พบมีการระบาดของด้วงก้นกระดกให้ใช้สารเคมีกำจัดแมลงพ่นตามกอหญ้าแปลงพืช หรือตามริม ฝั่งน้ำ ในบริเวณที่มีแมลงชนิดนี้อาศัยอยู่ถ้าผิวหนังถูกน้ำพิษของด้วงกนกระดก ให้รีบล้างแผลให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ แล้วใช้ยา ปฏิชีวนะประเภทครีมทาบริเวณที่ถูกพิษ กรณีที่ตุ่มแผลแตกให้รับประทานยาปฏิชีวนะและปิดแผล ไว้ถ้าอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์

1.3 แมลงตด


  ภาพแมลงตด
 แมลงตดเป็นแมลงประเภทด้วงปีกแข็งที่มีพิษอีกชนิดหนึ่งที่สามารถทำให้เกิด อันตรายกับประชาชนได้ชนิดที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทย ได้แก่ชนิด Pherosophus javanus และ P. occipitalis มีลักษณะทั่วไปคือ มีลำตัวยาว 17-21 มม. กว้าง 6.5-8 มม. หัวตาด้านบนของ ริมฝีปากบนและด้านบนของอกปล้องแรกมีสีเหลืองอมน้ำตาลค่อนข้างเป็นมัน ด้านล่างของหัวสี เหลืองผนังริมฝีปากล่างสีดำอมแดงหรือดำ

อันตรายจากแมลงตด
แมลงตดจะปล่อยสารพิษ ประเภท ควิโนน โดยพ่นออกมาเป็นหมอกทางก้น มีเสียงคล้าย ตดเมื่อถูกผิวหนังจะแสบร้อนและผิวไหม้คล้ายถูกกรด หากโดนที่สำคัญเช่น ตาจะทำให้ตาบอดได้ โดยสารพิษ ควิโนนจะผลิตจากต่อมภายในท้องผสมกับสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์การปล่อยพิษ จะเกิดจากการผสมกันของสารสองชนิดดังกล่าวและเกิดแรงดันฉีดสารพิษ ควิโนนออกมาเป็น ละอองละเอียด ปกติแมลงตดจะปล่อยสารพิษเพื่อป้องกันตัวหรือเมื่อถูกรบกวน

แหล่งที่พบ 
แมลงตดพบแพรกระจายอยู่ ทั่วไปในประเทศไทย  ในบริเวณตามพื้นดิน ในช่องใต้ ดิน กอง หินหรือใต้ปลือกไม้ในกิ่งหรือต้นที่ตายที่ล้มอยู่เหนือดิน หรือบางครั้งพบตามชายฝั่งน้ำอาศัยจับ แมลงและสัตว์เล็ก อื่นกินเป็นอาหาร 7
การป้องกัน หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสกับแมลงเหล่านี้แต่ถ้าผิวหนังถูก น้ำพิษ ให้รีบล้างแผลให้สะอาดด้วย สบู่และน้ำแล้วใช้ยาปฏิชีวนะประเภทครีมทาบริเวณที่ถูกพิษ กรณีที่ตุ่มแผลแตกให้รับประทานยา ปฏิชีวนะ และปิดแผลไว้ถ้าอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์

 การป้องกัน 
หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสกับแมลงเหล่านี้แต่ถ้าผิวหนังถูก น้ำพิษ ให้รีบล้างแผลให้สะอาดด้วย สบู่และน้ำแล้วใช้ยาปฏิชีวนะประเภทครีมทาบริเวณที่ถูกพิษ กรณีที่ตุ่มแผลแตกให้รับประทานยา ปฏิชีวนะ และปิดแผลไว้ถ้าอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น