วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แมลงมีพิษในกลุ่มขาข้อ

7. สัตว์ขาข้อมีพิษชนิดต่างๆ


 7.1 แมงมุม ภาพแมงมุม Turantula
แมงมุมเป็นสัตว์ขาข้อที่พบได้ทั่วโลก ทุกชนิดจะมีพิษใช้สำหรับจับเหยื่อโดยปล่อยน้ำพิษ ออกทางเขี้ยวพิษ แมงมุมมีขนาดได้ตั้งแต่ 0.3-24  ซม. ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนหัวซึ่งรวม อกไว้ด้วยกับส่วนท้องแมงมุมจะมีเขี้ยวพิษ 1 คู่และมีขา 4 คู่

อันตรายจากแมงมุม 
แมงมุมที่พบในประเทศไทยยังไม่มีรายงานว่ามีพิษรุนแรงจนถึงกับทำให้เสียชีวิตแต่อย่างไรก็ ตามความรุนแรงจะขึ้นกับสภาพร่างกายอายุและบริเวณที่ถูกต่อยด้วย แมงมุมที่พบในประเทศไทย เช่นชนิดTurantura sp. ซึ่งนอกจากจะกัดด้วยเขี้ยวพิษแล้วขนที่อยู่บนด้านบนของส่วนท้องถ้า สัมผัสถูกจะทำให้เกิดอาการแพ้  อย่างรุนแรงได้โดยจะมีอาการคัน เป็นตุ่มนานหลายสัปดาห์ ถ้าเข้า ตาจะทำให้ตาอักเสบอย่างรุนแรงได้

แหล่งที่พบ
 แมงมุมจะชอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามที่มืดตามรูใต้พื้นดิน หรือตามก้อนหิน ในเวลากลางวันจะ เคลื่อนตัวได้ช้า และออกหากินในเวลากลางคืน

การป้องกัน
 หลีกเลี่ยงจากแมงมุม แต่ถ้าถูกแมงมุมกัดให้ล้างแผลให้สะอาด ไม่ขยับแขนขาที่ถูกกัด ใช้ ผ้าพันแผลเพื่อลดการกระจายของพิษ และประคบแผลด้วยน้ำแข็ง รับประทานยาระงับปวด ถ้ามี อาการรุนแรงควรไปพบแพทย์

7.2 แมงป่อง

                                                              ภาพแมงป่อง

แมงป่อง มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด บางชนิดมีพิษรุนแรง บางชนิดพิษไม่รุนแรง ในประเทศไทย พบได้หลายชนิด แมงป่องมีขนาดยาว 2-10 ซม.ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนหัวซึ่งรวมอกไว้ ด้วยกับส่วนท้องซึ่งแบ่งเป็นปล้องๆ ส่วนปากมีลักษณะเป็นก้ามขนาดใหญ่ไว้สำหรับจับเหยื่อ ส่วน หางมี 5 ปล้องโดยมักจะยกปลายหางขึ้น ท้องปล้องสุดท้ายมีอวัยวะสำหรับต่อยและมีต่อมพิษ

อันตรายจากแมงป่อง
 พิษของแมลงป่องมีทั้งแบบออกฤทธิ์เฉพาะที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท และทำลายเม็ดเลือด ฤทธิ์เฉพาะที่คือจะมีอาการปวดบวมแดง ปวดแสปวดร้อน เป็นรอยไหม้คัน ชา มีไข้คลื่นไส้ อาเจียน และเมื่อพิษเข้าสู่กระแสโลหิตแล้ว จะทำให้ มีผลต่างๆ เช่น ง่วงซึม อัมพาตส่วน กล้ามเนื้อเกร็ง น้ำลายไหล ชัก หัวใจเต้นเร็ว และเสียชีวิตในที่สุด

แหล่งที่พบ 
แมงป่องออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนกลาวันจะซ่อนตัวอยู่  ตามกองไม้กองหิน และในดิน โดยชอบอยู่ในบริเวณที่เย็นๆ บางครั้งอาจพบหลังเข้ามาอยู่ในบ้านได้

การป้องกัน
 เมื่อถูกแมงป่องต่อยให้ล้างแผลให้สะอาดและประคบแผลด้วยน้ำแข็ง รับประทานยาแก้แพ้า ปวดมากให้รับประทานยาระงับปวด ถ้ามีอาการรุนแรงเกิดความผิดปกติกับระบบหายใจ ให้รีบไป พบแพทย์


 7.3 ตะขาบ


                                                            ภาพตะขาบ

ตะขาบเป็นสัตว์ขาข้อที่พบได้ทั่วไปในเขตร้อนชื้น ทำอันตรายคนโดยการกัดและปล่อยน้ำ พิษเข้าไปในรอยกัดนั้น ตะขาบมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ลำตัวแบนราบ ปล้องลำตัวมีตั้งแต่ 15- 100 ปล้องแต่ละปล้องมีขา 1 คู่มีสีน้ำตาลเหลืองจนถึงสีดำ อันตรายจากตะขาบ ตะขาบจะมีเขี้ยวพิษเชื่อมต่อกับต่อมพิษ เมื่อถูกตะขาบกัดจะพบรอยเขี้ยวสองรอยลักษณะ เป็นจุดเลือดออกบริเวณที่ถูกกัด พิษของตะขาบจะทำให้มีอาการปวดบวมแดง ปวดแสบปวดร้อน หรือชา ในผู้ที่แพ้ พิษ จะมีอาการกระวนกระวาย คลื่นไส้อาเจียน มึนงง ปวดศีรษะและหัวใจเต้นเร็ว

แหล่งที่พบ 
ตะขาบชอบอยู่ตามที่ชื้น เวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ในที่เย็นๆ เช่นตามกองไม้กองหิน ออก ล่าเหยื่อในเวลากลางคืน บางครั้งอาจพบหลงเข้ามาอยู่ในบ้าน โดยหลบซ่อนตัวอยู่ตามห้องน้ำ

การป้องกัน 
เมื่อถูกตะขาบกัดให้ล้างแผลให้สะอาด และประคบแผลด้วยน้ำแข็งเพื่อบรรเทาอาการปวดถ้า ปวดมากให้รับประทานยาระงับปวด ถ้ามีอาการรุนแรงเกิดความผิดปกติกับระบบหายใจ ให้รีบไป พบแพทย์

7.4 กิ้งกือ



                                                              ภาพกิ้งกือ

 กิ้งกือเป็นสัตว์ที่พบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยปกติจะไม่ทำร้ายคนโดยการกัดแต่จะหลั่ง สารพิษออกมาทำอันตรายกับคน กิ้งกือมีรูปร่างกลมยาวผิวลำตัวภายนอกแข็งและมีสีส้มแดงลำตัว มีปล้องหลายปล้องแต่ละปล้องมีขา 2 คู่บางครั้งพบชอบขดตัวอยู่กับที่
อันตรายจากตะขาบ กิ้งกือจะมีต่อมพิษอยู่ตลอดสองข้างของลำตัว บางชนิดสามารถฉีดสารพิษพุ่งออกไปได้ไกล  ซึ่งกิ้งกือมีสารพิษไว้ป้องกันตัวเองจากศัตรูพิษของกิ้งกือมีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสีมีฤทธิ์ ทำให้ผิวหนังไหม้แผลไหมจะมี อาการปวดอยู่ 2-3 วัน รวมทั้งจะมีอาการระคายเคืองร่วมด้วยและ ถ้าสารพิษเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบได้

แหล่งที่พบ
 กิ้งกือชอบอยู่ตามที่ชื้นเย็นๆ โดยมักพบอยู่ตามใต้ กองหิน ในดิน รวมทั้งกองใบไม้ที่ร่วงทับถมกัน จะพบชกชุมในฤดูฝน ออกหากินในเวลากลางคืน บางครั้งอาจพบหลงเข้ามาอยู่ใน บริเวณบ้าน โดยหลบซ่อนตัวอยู่ ตามห้องน้ำ

การป้องกัน
 เมื่อถูกพิษของกิ้งกือให้ล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่แล้วเช็ดบริเวณที่ถูกพิษด้วย แอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเพื่อล้างพิษออกอาจรบประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติด เชื้อ หากพิษเข้าตาให้รีบล้างด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำสะอาดธรรมดาแล้วรีบไปพบแพทย์ ทันที

อ้างถึงhttp://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/applications/files/insect2.pdf

แมลงมีพิษในกลุ่มตัว ไร

 6. สัตว์ในกลุ่มของตัวไร
 6.1 ไรตัวอ่อน หรือที่รู้จักกันในชื่อ ชิกเกอร์
                                                                ภาพไร ชิกเกอร์

ไรตัวอ่อนเป็นไรที่มีขนาดเล็กจนแทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าจัดอยู่ในวงศ์ Trombiculidaeมี สีเหลือง หรือส้ม ตามตัวมีขนเล็กๆยาวๆปกคลุม ระยะที่เป็นตัวอ่อนซึ่งมี 6 ขา นอกจากเป็นพาหะ นำโรค สครัปไทฟัสแล้วยังทำให้เกิดรอยแผลบนผิวหนังที่ถูกกัดด้วย อันตรายจากไร ชิกเกอร์ ไร ชิกเกอร์ทำให้เกิดรอยแผลบนผิวหนัง ซึ่งมีลักษณะคล้ายถูกบุหรี่จี้และรักษาให้หายได้ ยาก

แหล่งที่พบ
 ไร ชิกเกอร์อาศัยอยู่ตามพื้นดินชื้นๆ หรือตามพุ่มไม้ที่อยู่ในป่าดังนั้นผู้ที่ได้รับอันตรายมัก เป็นผู้ที่ชอบเดินป่ารวมทั้งชาวบ้านที่เก็บของป่า

การป้องกัน
 ให้หลีกเลี่ยงไม่ไปอยู่บริเวณที่มีไร ชิกเกอร์ชุกชุม รวมทั้งถางพงหญ้าไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัย ของไร ชิกเกอร์ถ้าถูกไรชนิดนี้กัดต้องรีบไปพบแพทย์เพราะอาจติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคสคัปไทฟัส และรักษาอาการบนผิวหนังที่ถูกไรกัด


6.2 ไรฝุ่นบ้าน

                                                              ตัวไรฝุ่นบ้าน

ไรฝุ่นบ้านเป็นตัวไรที่ เราได้ ยินชื่อกันอยู่ บ่อยๆ เป็นตัวการที่สำคัญในการผลิตสารก่อภูมิแพ้ ภายในบ้านเรือน ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ต่างๆ จนถึงเป็นหอบหืด ไรฝุ่นบ้านเป็นไรที่มีขนาดเล็กผู้ ที่ไม่คุ้นเคยจะไม่สามารถมองเห็นไรฝุ่นด้วยตาเปล่าได้ลำตัวของไรฝุ่นมีลักษณะกลมรีสีขาวใส มี ขา 4 คู่ผิวหนังเป็นรอยย่นคล้ายลายพิมพ์นิ้วมือ ชนิดที่มี ความสำคัญก่อให้เกิดปัญหาทั่วโลกคือไร ฝุ่นอเมริกัน Dermatophagoides farinae และไรฝุ่นยุโรป Dermatophagoides pteronyssinus ทั้งสอง ชนิดพบได้มากในประเทศไทย อันตรายจากไรฝุ่นบ้าน ไรฝุ่นบ้านเป็นตัวการที่ สำคัญในการผลิตสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้านเรือนดังที่กล่าวมาแล้ว โดยสารก่อภูมแพ้ จะพบได้ในตัวของไรฝุ่น ซากไรที่ตายแล้วรวมทั้งของเสียที่ไรฝุ่นขับถ่ายออกมา ผู้ที่แพ้มากๆและสัมผัสสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นเป็นเวลานานๆ จะทำให้เป็นโรคภูมิแพ้ เรื้อรังได้

แหล่งที่พบ 
ไรฝุ่นบ้านอาศัยอยู่ใกล้ ชิดกับคนมากโดยเฉพาะบนที่นอน เนื่องจากอาหารของไรฝุ่นคือเศษ ขี้ไคลบนผิวหนังของคน รังแคบนหนังศีรษะจึงพบอาศัยหลบซ่อนอยู่ตามที่นอน หมอน ผ้าห่ม รวมทั้งพรม ซึ่งเก็บฝุ่นได้ดี

การป้องกัน
 ต้องรักษาสุขลักษณะภายในบ้าน เปิดหน้าต่งให้แสงแดดส่องเข้ามาในห้องเพื่อไม่ให้ห้อง อับชื้นเกินไป หมั่นนำเครื่องนอนออกซัก และผึ่งแดด ใช้เครื่องดูดฝุ่น ดูดฝุ่นบนที่นอนและที่อื่น ของบ้านอย่างสม่ำเสมอผู้ที่แพ้ไรฝุ่นอาจรับประทานยาแก้แพ้ถ้าอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์



แมลงมีพิษในกลุ่มมวน

 4. แมลงในกลุ่มของมวน ประกอบด้วย 
 


                                                      ภาพมวนเพชฌฆาต

4.1 มวนเพชฌฆาต มวนเพชฌฆาตเป็นแมลงประเภทมวน ชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ Reduviidae  เป็นแมลงที่ดูดกิน เลือดสัตว์ใหญ่และคนเป็นอาหารเป็นแมลงที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่มีสีดำ น้ำตาลและมีสี อื่นๆ ปน เช่น เหลืองแดง ส้ม มีลำตัวยาวประมาณ 1-3 ซม. ส่วนหัวเรียวยาวและส่วนที่อยู่หลังตา  คอดคล้ายคอ ปากเป็นแบบแทงดูดลักษณะโค้งงอพับเก็บไว้ ใต้ส่วนอก  เมื่อต้องการดูดเลือดจึงจะยื่น ส่วนปากออกมา ชนิดที่มีความสำคัญและพบได้ในประเทศไทยคือTriatomaและ Rhodnius

อันตรายจากมวนเพชฌฆาต
 มวนเพชฌฆาตจะออกมากินเลือดในเวลากลางคืน โดยกลางวันจะหลับซ่อนตัวอยู่ทำให้ผู้ถูกดูดกินเลือดไมทราบว่าถูกมวนเพชฌฆาตเขามาดูดกินเลือดโดยเมื่อกินเลือดแล้วจะทิ้งรอยผื่นแดง ไว้บนผิวหนัง ซึ่งต่อมาจะเกิดเป็นผื่นแพ้รวมทั้งน้ำลายของมวนเพชฌฆาตบางชนิดมีสารพิษทำให้ เกิดความเจ็บปวด และทำให้เกิดแผล พบว่ามวนเพชฌฆาตชอบดูดกินเลือดคนบริเวณใบหน้าเป็น พิเศษ รวมทั้งบริเวณลูกนัยน์ตา ซึ่งทำให้เกิดอาการหนังตาบวมอักเสบขึ้นได้

แหล่งที่พบ 
มวนเพชฌฆาตชอบหลบซ่อนตัวและอาศัยอยู่ตามบริเวณที่รกรุงรัง ตามกองวัสดุที่วางทิ้งไว้ เช่นกองไม้กองเชือกตามรอยแตกของผนังห้อง เพดานห้อง พื้นห้องรวมทั้งบริเวณพื้นดินและพุ่ม ไม้รอบๆบ้าน ทำให้ยากที่จะมองเห็นวัตถุ

การป้องกัน
 ให้รักษาความสะอาดไม่ ปล่อยบ้านให้สกปรกรกรุงรัง ซ่อมแซมผนังห้องเมื่อพบว่ามีรอย แตก สำรวจบริเวณรอบๆบ้านไม่ให้ มีกองวัสดุเหลือใช้เก็บกวาดกองใบไม้ที่รกรุงรัง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ มีที่อยู่อาศัยและที่หลบซ่อนตัว และถ้าพบว่ามี รอยผื่นแพ้จากการดูดกินเลือดของมวนเพชฌฆาตให้ รีบล้างแผลให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำแล้วใช้ยาปฏิชีวนะหรือครีมทาบริเวณที่ถูกพิษ กรณีที่ตุ่มแผล แตกให้รับประทานยาปฏิชีวนะ ถ้าอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์โดยเฉพาะถ้าถูกดูดกินเลือดบริเวณลูกนัยน์

4.1 ตัวเรือด
                                                                ภาพตัวเรือด

ตัวเรือดเป็นแมลงประเภทมวนชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ Cimicidae เป็นแมลงที่ดูดกินเลือดสัตว์ และคนเป็นอาหารเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กลักษณะลำตัวกว้างรูปไข่และแบน มีสีน้ำตาลแดง เมื่อ  ดูดกินเลือดแล้วสีลำตัวจะคล้ำลงลำตัวยาวประมาณ 3-5 มม. ปากเป็นแบบแทงดูดลักษณะโค้งงอ สามารถสอดเข้าไปในร่องด้านล่างของลำตัวเมื่อต้องการดูดเลือดจึงจะยื่นสวนปากออกมา ชนิดที่มี ความสำคัญและพบไดในประเทศไทยคือ Cimex sp.

 อันตรายจากมวนเพชฌฆาต
 ตัวเรือดจะออกมาดูดกินเลือดในเวลากลางคืน โดยเฉพาะในที่มืดเมื่อเราปิดไฟเข้านอน หรือในโรงภาพยนตร์ที่ปิดไฟมืดขณะฉายหนังโดยกลางวันตัวเรือดจะหลบซ่อนตัวอยู่ ผู้ถูกดูดกินเลือดจะรู้สึกเจ็บในบริเวณที่ถูกกัดโดยมองไม่เห็นตัวเรื อดแต่จะทิ้งรอยผื่นแดงไว้บนผิวหนัง ซึ่ง ต่อมาจะเกิดเป็นผื่นแพ้เจ็บปวดและถ้าเกิดอาการคันและเกามากๆ จะยิ่งเกิดการอักเสบ  และอาจเกิด การติดเชื้อซ้ำ ทำให้รอยแผลหายยากยิ่งขึ้น

แหล่งที่พบ
 ตัวเรือดชอบหลบซ่อนตัวและอาศัยอยู่ตามที่นอน ซอกเตียง เก้าอี้ ตามรอยแตกของผนัง ห้อง เพดานห้อง พื้นห้องและตามรอยแตกของอาคาร รวมทั้งตามอาคารที่สาธารณะต่างๆ เช่นโรง ภาพยนตร์โรงแรม โรงเรียน โดยเฉพาะที่ที่ค่อนข้างสกปรกและมีคนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก

การป้องกัน 
ให้รักษาความสะอาดของสถานที่ซ่อมแซมผนังห้อง พื้นห้องและตัวอาคารเมื่อพบว่ามีรอย แตก ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีที่อยู่อาศัยและที่หลบซ่อนตัวของตัวเรือดและถ้าพบว่ามีรอยผื่นแพ้ จากการดูด กินเลือดให้รีบล้างแผลให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำแล้วใช้ยาปฏิชีวนะหรือครีมทาบริเวณที่ถูกพิษ ให้ รับประทานยาปฏิชีวนะถ้าพบว่ามีการติดเชื้อซ้ำบริเวณรอยแผลที่ถูกกัด แต่ถ้ามีอาการรุนแรงควร ไปพบแพทย์

5. แมลงสาบ

แมลงสาบเป็นแมลงที่ทุกคนรู้จักกันดีมีความใกล้ชิดกับคนมากเนื่องจากเข้ามาอยู่อาศัยและ กินอาหารของเราแมลงสาบนอกจากเป็นพาหะนำโรคแล้ว ยังสามารถปล่อยกลิ่นที่มีสารพิษทำให้ คนเกิดอาการแพ้ได้แมลงสาบมีหลายชนิด ชนิดที่พบเห็นได้  บ่อยๆ เช่น แมลงสาบเยอรมัน (Blattella germanica) และแมลงสาบอเมริกัน (Periplaneta americana) แมลงสาบจัดเป็นแมลงที่มี ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงดำลำตัวแบนรูปไข่ส่วนหัวจะซ่อนอยู่ใต้อก ปล้องแรกที่มีขนาดใหญ่

 อันตรายจากแมลงสาบ
 แมลงสาบชอบออกหากินในเวลากลางคืน โดยที่นอกจากเป็นตัวแพร่ กระจายเชื้อโรคแล้ว กลิ่นของแมลงสาบที่ปล่อยออกมามีสารพิษหรือสารก่อภูมิแพ้เจือปน ทำให้ผิวหนังของเราเกิด อาการแพ้คันและอักเสบได้รวมทั้งทำให้เกิดอาการหอบหืดในผู้ป่วยที่มี ประวัติโรคภูมิ แพ้พบว่าผู้ที่ ต้องใกล้ชิดกบแมลงสาบเป็นเวลานานๆจะมีปัญหาเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังและมีอาการแพ้ต้องสิ่ง ต่างๆได้ง่าย

แหล่งที่พบ 
แมลงสาบมีนิสัยชอบรวมตัวอยู่กันเป็นกลุ่ม ชอบหลบซ่อนตัวและอาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัย ของคนในบริเวณห้องครัวในชั้นเก็บอาหารต่างๆ ตู้เสื้อผ้ารวมทั้งท่อระบายน้ำและสามารถขึ้นมา ตามท่อน้ำเข้ามาในที่พักอาศัยและในห้องน้ำได้

 การป้องกัน
 ให้รักษาความสะอาดของสถานที่ไม่ให้รกรุงรัง เพื่อลดแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ รวมทั้งทิ้งเศษอาหารและขยะในภาชนะที่มี ฝาปิดมิดชิด ถ้าเกิดผื่นแพจากแมลงสาบให้ พยายาม รักษาความสะอาดบริเวณที่เกิดผื่นแพ้และรับประทานยาแก้แพ้ได้ถ้ามีอาการหอบหดควรไปพบ  แพทย์



แมลงมีพิษในกลุ่มผีเสื้อและหนอน

3. แมลงในกลุ่มผีเสื้อโดยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของผีเสื้อกลางคืน โดยทั้งตัวอ่อนที่เป็นตัว หนอน และตัวเต็มวัยจะมีขนหลายชนิดอยู่ บริเวณลำตัวที่สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้ตัวอย่างตัว อ่อนผีเสื้อที่มีขนพิษ เช่นหนอนบุ้ง หนอนร่าน ชนิดที่พบได้ บ่อยในประเทศไทย ได้แก่หนอนบุ้ง ยิปซีมอส ชนิด Lymantria dispar ส่วนตัวผีเสื้อที่ทำให้เกิดอาการแพ้จะเป็นผีเสื้อกลางคืนหลายชนิด ที่อยู่ในวงศ Notodontidae และ Saturniidae เป็นต้น




อันตรายจากผีเสื้อ
 ขนหลายชนิดที่อยู่บริเวณลำตัวของหนอนบุ้งและตัวผีเสื้อมีสารพิษหลายประเภท โดยเมื่อเราไปสัมผัสถูกขนพิษเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการแสบร้อนทันทีรวมทั้งทำให้เกิดผื่นแพ้ขึ้นที่ ผิวหนังจากนั้นจะบวม  ชาและพิษจะแพร่ไปยังบริเวณใกล้เคียงทำให้เกิดอาการอักเสบบวม เช่น ที่ ต่อมน้ำเหลืองอาจมีอาการปวดศีรษะคลื่นไส้อาเจียน ชา เป็นอัมพาตและช็อกได้ 

 แหล่งที่พบ
 ผีเสื้อในกลุ่มนี้จะพบได้ทั่วไป โดยตัวหนอนจะพบอยู่ตามพืชต่างๆหลายชนิด เนื่องจากตัว หนอนอาศัยกันพืชเหล่านี้เป็นอาหาร ส่วนตัวผีเสื้อจะออกหากินในเวลากลางคืน และพบมาเล่นไฟ ทำให้มีโอกาสมาใกล้ชิดกับคนได้


การป้องกัน
 ตัวหนอนและผีเสื้อไม่ได้ทำอันตรายกับคนโดยตรง แต่อันตรายจะเกิดจากคนไปสัมผัสโดนตัว แมลงและขนพิษโดยบังเอิญ ดังนั้นควรระมัดระวังไม่เข้าไปสัมผัสแมลงในกลุ่มนี้รวมทั้งไม่ เข้าไปใกล้เนื่องจากขนพิษอาจปลิวมาถูกผิวหนังของเราได้ส่วนการรักษาอาการพิษของแมลงใน กลุ่มนี้ทำได้โดยการดึงเอาขนพิษออกด้วยเทปกาวใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่ถูกขนพิษ รักษาความ สะอาด ทาด้วยครีมประเภทรักษาอาการแสบร้อน ให้กินยาแก้  แพ้และยาระงับปวดในรายที่มีอาการ แพ้รุนแรง หรือเกิดอาการช็อกให้  รีบไปพบแพทย์




วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แมลงมีพิษกลุ่มที่มีการต่อและกัด

 2. แมลงกลุ่มที่มีเหล็กใน แมลงกลุ่มนี้ทำอันตรายคนโดยการต่อย หรือการกัด หรือทั้งต่อยและกัด ชนิดที่ก่อให้เกิดอันตรายกับประชาชน ประกอบด้วย




ภาพผึ้งเลี้ยง
 2.1 กลุ่มผึ้ง ซึ่งเป็นแมลงอยู่ในวงศ์ Apidae ได้แก่ผึ้งเลี้ยง (Apis mellifera), ผึ้งโพรง (Apis indica), ผึ้งมิ้ม (Apis florea) และผึ้งหลวง (Apis indica) เป็นต้น มีลักษณะโดยทั่วไปคือลำตัวมีสี เหลืองน้ำตาลขาหลังมีอวัยวะพิเศษสำหรับเก็บเกสรเรียกว่าตะกร้าเก็บเกสร มีปีก 2 คู่มีขนตาม ลำตัว ซึ่งมีลักษณะเป็นขนละเอียด ส่วนปลายท้องของผึ้งงานและผึ้งนางพญามีเหล็กในยื่นออกมา เห็นได้เด่นชัด


ส่วนประกอบของเหล็กในผึ้ง
เป็นสารประกอบโปรตีนที่ผึ้งงานปล่อยออกมาจากต่อมสร้างพิษ ผ่านออกมาทางท่อเหล็กใน เพื่อไว้ใช้ป้องกันรังเวลาที่ศัตรูบุกรุก พิษผึ้งมีลักษณะเป็นของเหลวใส มีรสขม มีกลิ่นของสารอโรมาติก คล้ายกลิ่นนมแมว มีฤทธิ์เป็นกรด และมีความถ่วงจำเพาะ 1.313 เป็นสารอินทรีย์เคมี ที่ออกฤทธิ์เร็วและรุนแรง ทำให้แมลงบางชนิดตาย พิษจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วองค์ประกอบทางเคมีของพิษผึ้งมีคุณค่าทางการแพทย์  เช่น ฮีสตามีน (Histamine) เซอโรโตนิน (Serotonin) โดพามิน (Dopamine) ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโน และเอนไซม์เป็นองค์ประกอบเล็กน้อย


อันตรายจากผึ้ง
 ผึ้งเป็นแมลงที่ทำร้ายคนด้วยการต่อยโดยใช้เหล็กในที่อยู่ปลายท้องโดยเมื่อต่อยแล้วผึ้ง จะทิ้งเหล็กในไว้ตรงบริเวณที่ถูกต่อยดังนั้นเราไม่ควรบีบหรือขยี้บริเวณที่ถูกต่อยเพราะจะทำให้หล็กในยิ่งฝังลึกลงไปในผิวหนังและน้ำพิษจะกระจายมากขึ้น ดังนั้นเราจึงควรค่อยๆดึงเหล็กใน ออกมา น้ำพิษของผึ้งมีหลายประเภท อาการเมื่อได้รับพิษแล้วจะเกิดได้  ตั้งแต่อาการเฉพาะที่ใน บริเวณที่ถูกต่อย ได้แก่ ปวด บวม แดงร้อน หรือเป็นผื่นแพ้จนถึงอาการที่พิษเข้าไปตามกระแส โลหิต ทำให้เกิดอาการทั่วร่างกายเช่นหลอดเลือดบวม หายใจขัดคลื่นไส้อาเจียน แน่นท้อง ท้องเดิน เป็นลม ช็อกและอาจเสียชีวิตได้ในผู้ที่มีอาการรุนแรง


แหล่งที่พบ
 ผึ้งสามารถพบได้ทั่วไป โดยจะพบทำรังอยู่ใกล้บริเวณต้นไม้ ที่ผึ้งสามารถไปหาอาหาร ได้และบางครั้งพบผึ้งมาหาอาหารบริเวณที่มี่ ขนม หรือของหวานได้เช่นกัน 

การป้องกัน 
หลีกเลี่ยงไม้ไปรบกวนรังผึ้ง หรือเข้าไปอยู่บริเวณที่มีรังผึ้งแต่ถ้าถูกผึ้งต่อยให้ค่อยๆดึง เหล็กในออกจากบาดแผลดังที่กล่าวมาแล้ว ส่วนการรักษาอาการพิษทำได้โดยใช้น้ำแข็งประคบ บริเวณที่ถูกต่อยถ้าปวดมากให้รับประทานยาระงับปวดและอาจรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อลด อาการอักเสบ และเพื่อป้องกนการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ในบางรายที่มีอาการรุนแรง  เช่น ช็อกให้รีบไปพบแพทย์ทันที อย่างไรก็ตามความรุนแรงของพิษจะขึ้น กับจำนวนแผลที่ถูกต่อย ปริมาณพิษที่ได้รับ อายุน้ำหนักตัวของผู้ถูกต่อยและประวัติการแพ้ของคนไข้เช่น พวกมีประวัติ เป็นโรคภูมิแพ้มักจะมีอาการรุนแรงกว่าคนอื่น


2.2 ตัวต่อ

เป็นแมลงอยู่ในวงศ์ Vespidae ชนิดที่มีความสำคัญได้แก่ ต่อหัวเสือ (Vespa affinis) มี ลักษณะโดยทั่วไปคือลำตัวมีความยาวตั้งแต่ 10-30 มม. ส่วนใหญ่มีสีเหลืองและดำ เมื่อเกาะอยู่กับที่ จะพับปีกไปตามความยาวของลำตัว


 อันตรายจากตัวต่อ
 ต่อเป็นแมลงที่ทำร้ายคนด้วยการต่อยโดยใช้เหล็กในที่อยู่ปลายท้องโดยต่อได้ดัดแปลง อวัยวะที่ใช้ ในการวางไข่ให้เป็นเหล็กใน การต่อยของต่อจะแตกต่างจากผึ้งคือต่อสามารถต่อยโดย การฝังเหล็กในเข้าในตัวศัตรูหรือเหยื่อได้หลายครั้ง ในขณะที่ผึ้งสามารถทำได้เพียงครั้งเดียว ส่วนอาการเมื่อได้รับพิษ ผู้ถูกต่อยจะมีอาการเช่นเดียวกับถูกผึ้งต่อยคือจะเกดอาการได้  ตั้งแต่อาการ เฉพาะที่ในบริเวณที่ถูกต่อยได้แก่ปวด บวม แดงร้อน เป็นผื่นแพ้หรือถ้ารุนแรงอาการปวดบวม อาจลามเป็นบริเวณกว้างได้ส่วนอาการอื่นๆที่เกิดขึ้นไดคืออาการที่พิษเข้าไปตามกระแสโลหิต ทำให้เกิดอาการทั่วร่างกายเช่นหลอดเลือดบวม หายใจขัด คลื่นไส้อาเจียน แน่นท้อง ท้องเดิน เป็นลม ไตวาย ปัสสาวะเป็นเลือด รวมทั้งมีฤทธิ์ต่อระบบหัวใจระบบประสาท ช็อกและอาจเสียชีวิตได้ใน ผู้ที่มีอาการรุนแรง

แหล่งที่พบ
 ต่อสามารถพบได้ทั่วไป โดยบางครั้งจะพบทำรังอยู่ใกล้บริเวณที่อยู่อาศยของคน  หรือมา สร้างรังอยู่ในบริเวณที่พักอาศัยของเราได้  

การป้องกัน 
ได้แก่การไม่รบกวนรังของตัวต่อ ส่วนในกรณีที่มีตัวต่อมาสร้างในบริเวณบ้าน ให้ทำการ ย้ายรังตั้งแต่ยังเป็นรังขนาดเล็ก ซึ่งภายในจะมีเพียงต่อนางพญาเท่านั้น ในกรณีที่จะย้ายรังที่เป็นรัง ใหญ่ควรให้ผู้มีความชำนาญเป็นผู้กระทำและหลีกเลี่ยงไม่  เข้าไปอยู่บริเวณที่มีรังต่อแต่ถ้าถูกตัวต่อ ต่อยจะสามารถรักษาอาการพิษทำได้โดยใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่ถูกต่อยถ้าปวดมากให้รับประทานยาระงับปวดและอาจรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อลดอาการอักเสบ และเพื่อป้องกันการ ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ในบางรายที่มีอาการรุนแรง เช่น ช็อกให้รีบไปพบแพทย์  ทันที อย่างไร ก็ตามความรุนแรงของพิษจะขึ้นกับจำนวนแผลที่ถูกต่อย

 2.3 มด


เป็นแมลงที่อยู่ในวงศ์ Formicidae ที่พบทําอันตรายกับคนเสมอได้แก่ มดคันไฟ (Solenopsis geminata), มดแดง (Oecophylla smaragdina), และมดตะนอย (Tetraponera rufonigra) เป็นต้น มดจะมีลักษณะโดยทั่วไปแตกต่างจากแมลงชนิดอื่นเห็นได้เด่นชัดคือ หนวดจะมีลักษณะ หักงอเป็นข้อศอกและมีเอวคอดกิ่ว มีสีและขนาดแตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดของมด อันตรายจากมด มด สามารถทำอันตรายคนโดยการกัด การต่อย หรือมดบางชนิดเช่นมดคันไฟสามารถทำ 
อันตรายคนได้ทั้งกัดและต่อยการต่อยของมดจะเช่นเดียวกับตัวต่อคือจะต่อยได้หลายครั้งติดต่อกัน น้ำพิษของมดเช่นมดคันไฟ จะประกอบด้วยสารที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเซลล์ทำให้เซลล์บริเวณที่ถูก ต่อยเกิดเป็นตุ่มหนอง และอาจเป็นแผลลามกว้างขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อในบริเวณนั้น แต่ที่เป็นอันตราย คือในน้ำพิษจะมีสารที่เมื่อเข้าสูกระแสโลหิตจะทำให้เกิดอาการแพ้เช่นหลอดเลือดบวม หายใจขัด คลื่นไส้อาเจียน แน่นท้อง ท้องเดิน เป็นลม ช็อกและอาจเสียชีวิตได้ในผู้ที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง

แหล่งที่พบ 
มดสามารถพบได้ทั่วไป โดยบางครั้งจะพบทำรังอยู่ใกล้บริเวณที่อยู่อาศัยของคน  เช่นมดคัน ไฟจะทำรังอยู่ใต้ดินบริเวณดินทรายรอบๆบ้าน มดแดงจะทำรังอยู่ตามต้นไม้เช่นต้นมะม่วง ต้น ชมพู่   ส่วนมดตะนอยจะทำรังอยู่ตามต้นไม้ทีตายแล้ว มดที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไปคือมดงานที่ออกจาก รังมาหาอาหารเพื่อนำกลับไปเลี้ยงมดตัวอ่อนๆภายในรัง

การป้องกัน
 ทำได้โดยหลีกเลี่ยงไม่ ไปรบกวนรังมด หรือหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปในบริเวณที่มีมดอยู่เป็นจำนวนมากแต่ถ้าถูกมดกัดหรือต่อยให้รักษาอาการโดย ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่ถูกกัดหรือต่อยนั้น และ พยายามรักษาความสะอาดโดยไม่ ไปแกะเกาถ้าปวดมากให้รับประทานยาระงับปวด ในบางรายที่มี  อาการรุนแรง เช่น ช็อกให้รีบไปพบแพทย์  ทันทีอย่างไรก็ตามความรุนแรงของพิษจะเหมือนกับผึ้ง และต่อคือจะขึ้นกับจำนวนแผลที่ถูกต่อย ปริมาณพิษที่ได้รับ อายุน้ำหนักตัวของผู้ถูกต่อยและ ประวัติการแพ้ของคนไข้เช่น พวกมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้มักจะมีอาการรุนแรงกว่าคนอื่น




แมลงมีพิษในกลุ่มของด้วง

กลุ่มของแมลงพิษ แมลงพิษสามารถแบ่งกลุ่มได้ดังนี้
1. แมลงในกลุ่มของด้วงประกอบด้วย ภาพด้วงน้ำมัน

 


1.1 ด้วงน้ำมัน
ด้วงน้ำมันเป็นแมลงปีกแข็งจำพวกด้วงชนิดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในวงศ์ Meloidae  มีชื่อเรียกแตกต่างกัน ไป โดยภาคกลางเรียกด้วงโสน แมงลายขี้เมา ภาคใต้เรียกว่า ด้วงไฟเดือนห้า ทางภาคเหนือเรียก แมลงฮึ่มไฮ้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เคยได้รับแมลงชนิดนี้ส่งมาเพื่อตรวจวิเคราะห์ จำแนกชนิด หลายครั้งจากหลายจังหวัดตามลำดับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2532 จนถึงปีปัจจุบันเนื่องจากปัญหาที่ประชาชนมี ความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแมลงประเภทกินได้นำไปบริโภคแล้วเกิดพิษทำให้เจ็บป่วยอย่างรุนแรง จนบางรายถึงกับเสียชีวิต ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบด้วงน้ำมันไดหลายชนิด (ประมาณ 13 ชนิด) ชนิดที่พบอยู่จะเป็นชนิด Mylabris phalerata (ภาพด้วงน้ำมัน เบอร์ 1 ) มีลักษณะสำคัญที่เห็นได้ชัดคือ หัว อก ลำตัว และขาสีดำ มีปีกแข็ง มีลายขวางสีเหลืองส้มสลับดำโดยจะเป็นสีเหลืองส้ม 3 แถบ ดำ 3 แถบ ส่วนท้ายของปล้องที่ 9 เว้าลึกและแคบ ลำตัวกกว้าง 7-8 มม. ยาว 22-27 มม. ส่วนด้วงน้ำมันอีกสอง ชนิดที่อาจพบได้คือ Epicauta hirticornis (ภาพด้วงน้ำมัน เบอร์2) ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ หัวสี น้ำตาลอกลำตัวขาและ ปีกสีดำไม่มีลายบนปีกแข็งขนาดของลำตัวกว้าง 3-5 มม. ยาว 12-21 มม. เบอร์1 เบอร์เบอร์ 3  และชนิด Epicauta malkini (ภาพด้วงน้ำมัน เบอร์ 3) โดยตัวเต็มวัยมีขนาดประมาณ 27 มม. มี ลักษณะที่สำคัญเห็นไดเด่น ชัดคือ ปีกคู่หน้ามีสีเหลืองและปลายปีกสีดำ หัวสีแดงด้วงน้ำมันทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวรวมทั้งด้วงน้ำมันชนิดอื่นๆมีอันตรายมากสารพิษ ห้ามนำมารับประทานโดยเด็ดขาด

อันตรายจากด้วงน้ำมัน
 ด้วงชนิดนี้มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นแมลงที่ชาวบ้านมักจะเข้าใจผิดนำมาเผาไฟ รับประทาน ซึ่งทำให้กิดอันตราย โดยไมทราบว่า ภายในร่างกายของแมลงพวกนี้มีสารทีเรียกว่า แคนทาริดิน (Cantharidin) อยู่ในลำตัวซึงมีพิษต่อสิ่งมีชีวิต ตามปกติเมื่อถูกรบกวนด้วงน้ำมันจะ ขับสารนี้ออกมาทันทีโดยจะเป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง เมื่อโดนผิวหนังจะทำ ให้เป็นแผลพองปวดแสบปวดร้อน ถ้าเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบ และที่สำคัญคือกินแล้วถึงตายได้โดย อาการของผู้ป่วยที่พบคือ มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงคลื่นไส้ อาเจียนมีเลือดปน ถ่ายอุจจาระและ ปัสสาวะมีเลือดปนด้วยและตายในที่สุดเนื่องจากสารพิษดังกล่าวจะทำให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรง ต่อเยื่อเมือกในระบบทางเดินอาหาร  จากการตรวจวิเคราะห์ของกองพิษวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปี 2532  พบว่าด้วงน้ำมัน ชนิด M.phalerata 1 ตัว มีสารแคนทาริดิน ประมาณ 6 มิลลิกรัม เนื่องจากร่างกายได้รับสาร แคนทาริดิน ในปริมาณ 10 มิลลิกรัมขึ้นไปจะทำ ให้เป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นถ้ารับประทาน เพียง 2-3 ตัวก็ทำให้เสียชีวิตได้

แหล่งที่พบ 
ด้วงน้ำมันจะพบมากอยู่ตามต้นแค ต้นโสน พืชตระกูลถั่ว มะเขือเทศและ ปอ
โดยจะบินเป็นกลุ่มมากินใบและดอกของพืชเหล่านี้เมื่อชาวบ้านมาพบเห็นเข้ามักจะเข้าใจผิดจับมารับประทาน โดยคิดว่าเป็นอาหาร หรือทำเป็นยาบำรุงกาลังได้  

การป้องกัน
 1. ประชาชนควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแมลงที่ยังไม่เคยรับประทานหรือไม่รู่จัก
 2. ครั้งแรกที่รับประทานแมลงควรรับประทานแต่น้อยก่อน เพราะแต่ละคนอาจแพ้ แมลงแต่ละชนิดได้ไม่เหมือนกัน
 3. ไม่รับประทานแมลงที่จับมาจากแหล่งที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
 4. ไม่รับประทานแมลงที่มีลักษณะผิดปกติเช่นแมลงเน่าเสีย
 5. ปรุงให้สุกทุกครั้งก่อนนำมารับประทาน
6. ถ้ามีอาการผิดปกติจากการรับประทานแมลงควรรีบไปพบแพทย์ทันทีพร้อมทั้งนำแมลง ไปด้วย

1.2 ด้วงก้นกระดก

 ภาพด้วงก้นกระดกหรือแมลงเฟรชชี่
ด้วงก้นกระดก เป็นด้วงอีกชนิดหนึ่งที่พบว่าทำให้เกิดอันตรายกับประชาชนอยู่เสมอ โดย บางครั้งประชาชนจะเรียกแมลงชนิดนี้ว่าแมลงเฟรชชี่ เนื่องจากจะพบมากในช่วงเปิดเทอมซึ่งเป็น ช่วงที่เข้าสู่ฤดูฝน ด้วงก้นกระดกเป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก คือมีความยาวประมาณ 4-7 ม.ม จัดเป็น แมลงใน วงศ์ Staphylinidae ชนิดที่พบอยู่ในบ้านเราคือชนิด Paederus fuscipes เหตุที่ได้ชื่อว่า ด้วงก้นกระดกเนื่องจากเป็นแมลงที่มีนิสัยชอบงอส่วนท้องขึ้นๆลงๆ ตลอดเวลา ลักษณะที่เห็นได้เด่นชัดของแมลงชนิดนี้คือปีกคู่แรกแข็งสั้น ปีกคู่ที่สองใหญ่เจริญใช้การได้ดีพับอยู่ใต้ปีกคู่แรก ส่วนท้องยาวโผล่ออกมานอกปีกสังเกตเห็นได้ง่ายและมีสีสัน ต่างๆกัน เช่น สีส้ม สีแดง เป็นต้น

อันตรายจากด้วงก้นกระดก
ด้วงกนกระดกมีสารพิษประเภทชนิด พีเดอริน (Paederin) ซึ่งถ้าถูกผิวหนังจะทำให้เป็น แผลผุพอง บวมแดง ปวดแสบปวดร้อน และมีไข้ ถ้าเข้าตาก็จะทำให้ตาอักเสบ จนถึงตาบอดได้โดยปกติแมลงพวกนี้จะไม่กัดคน แต่เมื่อเผอิญไต่ขึ้นมาตามร่างกายแล้วไปตบตีหรืออทำให้ลำตัว แตกหัก น้ำพิษดังกล่าวก็จะซึมเข้าร่างกายและมีผลทำให้เกิดอาการดังกล่าว แหล่งที่พบ ด้วงก้นกระดกพบอาศัยอยู่ตามกองมูลสัตว์ตามดินใต้หินและกองไม้ต่างๆ หรือตามต้นพืช ที่มีลักษณะเป็นเถาปกคลุมให้ความชุ่มชื้น ชอบบินเข้ามาเล่นไฟในบ้านเรือนในเวลากลางคืนจึงทำ ให้คนมีโอกาสได้รับพิษจากแมลงชนิดนี้

การป้องกัน
เราสามารถป้องกันตัวจากด้วงก้นกระดกได้โดยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสกับแมลง ชนิดนี้และถ้าเผอิญแมลงไต่ขึ้นมาตามลำตัวอย่าไปตีหรือบีบเพราะจะทำให้ แมลงลำตัวแตกหัก ทำให้น้ำพิษออกมาสัมผัสกับผิวหนังของเราได้ควรลดกำลังส่องสว่างของแสงไฟในห้องทำงานใน เวลากลางคืนโดยการติดตั้งให้ต่ำลง หรือใช้โป๊ะบังคับให้แสงส่องในบริเวณที่ต้องการเนื่องจากด้วงก้นกระดกจะชอบบินมาเล่นไฟในเวลากลางคืน รวมทั้งควรอยู่ในห้องมุ้งลวดในเวลาค่ำคืน และถ้า พบมีการระบาดของด้วงก้นกระดกให้ใช้สารเคมีกำจัดแมลงพ่นตามกอหญ้าแปลงพืช หรือตามริม ฝั่งน้ำ ในบริเวณที่มีแมลงชนิดนี้อาศัยอยู่ถ้าผิวหนังถูกน้ำพิษของด้วงกนกระดก ให้รีบล้างแผลให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ แล้วใช้ยา ปฏิชีวนะประเภทครีมทาบริเวณที่ถูกพิษ กรณีที่ตุ่มแผลแตกให้รับประทานยาปฏิชีวนะและปิดแผล ไว้ถ้าอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์

1.3 แมลงตด


  ภาพแมลงตด
 แมลงตดเป็นแมลงประเภทด้วงปีกแข็งที่มีพิษอีกชนิดหนึ่งที่สามารถทำให้เกิด อันตรายกับประชาชนได้ชนิดที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทย ได้แก่ชนิด Pherosophus javanus และ P. occipitalis มีลักษณะทั่วไปคือ มีลำตัวยาว 17-21 มม. กว้าง 6.5-8 มม. หัวตาด้านบนของ ริมฝีปากบนและด้านบนของอกปล้องแรกมีสีเหลืองอมน้ำตาลค่อนข้างเป็นมัน ด้านล่างของหัวสี เหลืองผนังริมฝีปากล่างสีดำอมแดงหรือดำ

อันตรายจากแมลงตด
แมลงตดจะปล่อยสารพิษ ประเภท ควิโนน โดยพ่นออกมาเป็นหมอกทางก้น มีเสียงคล้าย ตดเมื่อถูกผิวหนังจะแสบร้อนและผิวไหม้คล้ายถูกกรด หากโดนที่สำคัญเช่น ตาจะทำให้ตาบอดได้ โดยสารพิษ ควิโนนจะผลิตจากต่อมภายในท้องผสมกับสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์การปล่อยพิษ จะเกิดจากการผสมกันของสารสองชนิดดังกล่าวและเกิดแรงดันฉีดสารพิษ ควิโนนออกมาเป็น ละอองละเอียด ปกติแมลงตดจะปล่อยสารพิษเพื่อป้องกันตัวหรือเมื่อถูกรบกวน

แหล่งที่พบ 
แมลงตดพบแพรกระจายอยู่ ทั่วไปในประเทศไทย  ในบริเวณตามพื้นดิน ในช่องใต้ ดิน กอง หินหรือใต้ปลือกไม้ในกิ่งหรือต้นที่ตายที่ล้มอยู่เหนือดิน หรือบางครั้งพบตามชายฝั่งน้ำอาศัยจับ แมลงและสัตว์เล็ก อื่นกินเป็นอาหาร 7
การป้องกัน หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสกับแมลงเหล่านี้แต่ถ้าผิวหนังถูก น้ำพิษ ให้รีบล้างแผลให้สะอาดด้วย สบู่และน้ำแล้วใช้ยาปฏิชีวนะประเภทครีมทาบริเวณที่ถูกพิษ กรณีที่ตุ่มแผลแตกให้รับประทานยา ปฏิชีวนะ และปิดแผลไว้ถ้าอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์

 การป้องกัน 
หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสกับแมลงเหล่านี้แต่ถ้าผิวหนังถูก น้ำพิษ ให้รีบล้างแผลให้สะอาดด้วย สบู่และน้ำแล้วใช้ยาปฏิชีวนะประเภทครีมทาบริเวณที่ถูกพิษ กรณีที่ตุ่มแผลแตกให้รับประทานยา ปฏิชีวนะ และปิดแผลไว้ถ้าอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์