7. สัตว์ขาข้อมีพิษชนิดต่างๆ
7.1 แมงมุม ภาพแมงมุม Turantula
แมงมุมเป็นสัตว์ขาข้อที่พบได้ทั่วโลก ทุกชนิดจะมีพิษใช้สำหรับจับเหยื่อโดยปล่อยน้ำพิษ
ออกทางเขี้ยวพิษ แมงมุมมีขนาดได้ตั้งแต่ 0.3-24 ซม. ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนหัวซึ่งรวม อกไว้ด้วยกับส่วนท้องแมงมุมจะมีเขี้ยวพิษ 1 คู่และมีขา 4 คู่
อันตรายจากแมงมุม
แมงมุมที่พบในประเทศไทยยังไม่มีรายงานว่ามีพิษรุนแรงจนถึงกับทำให้เสียชีวิตแต่อย่างไรก็
ตามความรุนแรงจะขึ้นกับสภาพร่างกายอายุและบริเวณที่ถูกต่อยด้วย
แมงมุมที่พบในประเทศไทย เช่นชนิดTurantura sp. ซึ่งนอกจากจะกัดด้วยเขี้ยวพิษแล้วขนที่อยู่บนด้านบนของส่วนท้องถ้า
สัมผัสถูกจะทำให้เกิดอาการแพ้ อย่างรุนแรงได้โดยจะมีอาการคัน
เป็นตุ่มนานหลายสัปดาห์ ถ้าเข้า ตาจะทำให้ตาอักเสบอย่างรุนแรงได้
แหล่งที่พบ
แมงมุมจะชอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามที่มืดตามรูใต้พื้นดิน
หรือตามก้อนหิน ในเวลากลางวันจะ เคลื่อนตัวได้ช้า และออกหากินในเวลากลางคืน
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงจากแมงมุม
แต่ถ้าถูกแมงมุมกัดให้ล้างแผลให้สะอาด ไม่ขยับแขนขาที่ถูกกัด ใช้ ผ้าพันแผลเพื่อลดการกระจายของพิษ
และประคบแผลด้วยน้ำแข็ง รับประทานยาระงับปวด ถ้ามี อาการรุนแรงควรไปพบแพทย์
7.2 แมงป่อง
ภาพแมงป่อง
แมงป่อง มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด
บางชนิดมีพิษรุนแรง บางชนิดพิษไม่รุนแรง ในประเทศไทย พบได้หลายชนิด แมงป่องมีขนาดยาว
2-10 ซม.ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนหัวซึ่งรวมอกไว้
ด้วยกับส่วนท้องซึ่งแบ่งเป็นปล้องๆ ส่วนปากมีลักษณะเป็นก้ามขนาดใหญ่ไว้สำหรับจับเหยื่อ
ส่วน หางมี 5 ปล้องโดยมักจะยกปลายหางขึ้น ท้องปล้องสุดท้ายมีอวัยวะสำหรับต่อยและมีต่อมพิษ
อันตรายจากแมงป่อง
พิษของแมลงป่องมีทั้งแบบออกฤทธิ์เฉพาะที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท
และทำลายเม็ดเลือด ฤทธิ์เฉพาะที่คือจะมีอาการปวดบวมแดง ปวดแสปวดร้อน เป็นรอยไหม้คัน
ชา มีไข้คลื่นไส้ อาเจียน และเมื่อพิษเข้าสู่กระแสโลหิตแล้ว จะทำให้ มีผลต่างๆ เช่น
ง่วงซึม อัมพาตส่วน กล้ามเนื้อเกร็ง น้ำลายไหล ชัก หัวใจเต้นเร็ว และเสียชีวิตในที่สุด
แหล่งที่พบ
แมงป่องออกหากินในเวลากลางคืน
ส่วนกลาวันจะซ่อนตัวอยู่ ตามกองไม้กองหิน
และในดิน โดยชอบอยู่ในบริเวณที่เย็นๆ บางครั้งอาจพบหลังเข้ามาอยู่ในบ้านได้
การป้องกัน
เมื่อถูกแมงป่องต่อยให้ล้างแผลให้สะอาดและประคบแผลด้วยน้ำแข็ง รับประทานยาแก้แพ้ถา ปวดมากให้รับประทานยาระงับปวด
ถ้ามีอาการรุนแรงเกิดความผิดปกติกับระบบหายใจ ให้รีบไป พบแพทย์
7.3 ตะขาบ
ภาพตะขาบ
ตะขาบเป็นสัตว์ขาข้อที่พบได้ทั่วไปในเขตร้อนชื้น
ทำอันตรายคนโดยการกัดและปล่อยน้ำ พิษเข้าไปในรอยกัดนั้น
ตะขาบมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ลำตัวแบนราบ ปล้องลำตัวมีตั้งแต่ 15- 100 ปล้องแต่ละปล้องมีขา 1 คู่มีสีน้ำตาลเหลืองจนถึงสีดำ
อันตรายจากตะขาบ ตะขาบจะมีเขี้ยวพิษเชื่อมต่อกับต่อมพิษ
เมื่อถูกตะขาบกัดจะพบรอยเขี้ยวสองรอยลักษณะ เป็นจุดเลือดออกบริเวณที่ถูกกัด
พิษของตะขาบจะทำให้มีอาการปวดบวมแดง ปวดแสบปวดร้อน หรือชา ในผู้ที่แพ้ พิษ
จะมีอาการกระวนกระวาย คลื่นไส้อาเจียน มึนงง ปวดศีรษะและหัวใจเต้นเร็ว
แหล่งที่พบ
ตะขาบชอบอยู่ตามที่ชื้น
เวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ในที่เย็นๆ เช่นตามกองไม้กองหิน ออก ล่าเหยื่อในเวลากลางคืน
บางครั้งอาจพบหลงเข้ามาอยู่ในบ้าน โดยหลบซ่อนตัวอยู่ตามห้องน้ำ
การป้องกัน
เมื่อถูกตะขาบกัดให้ล้างแผลให้สะอาด และประคบแผลด้วยน้ำแข็งเพื่อบรรเทาอาการปวดถ้า
ปวดมากให้รับประทานยาระงับปวด ถ้ามีอาการรุนแรงเกิดความผิดปกติกับระบบหายใจ ให้รีบไป
พบแพทย์
7.4 กิ้งกือ
ภาพกิ้งกือ
กิ้งกือเป็นสัตว์ที่พบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก
โดยปกติจะไม่ทำร้ายคนโดยการกัดแต่จะหลั่ง สารพิษออกมาทำอันตรายกับคน กิ้งกือมีรูปร่างกลมยาวผิวลำตัวภายนอกแข็งและมีสีส้มแดงลำตัว
มีปล้องหลายปล้องแต่ละปล้องมีขา 2 คู่บางครั้งพบชอบขดตัวอยู่กับที่
อันตรายจากตะขาบ กิ้งกือจะมีต่อมพิษอยู่ตลอดสองข้างของลำตัว
บางชนิดสามารถฉีดสารพิษพุ่งออกไปได้ไกล ซึ่งกิ้งกือมีสารพิษไว้ป้องกันตัวเองจากศัตรูพิษของกิ้งกือมีลักษณะเป็นของเหลวใส
ไม่มีสีมีฤทธิ์ ทำให้ผิวหนังไหม้แผลไหมจะมี อาการปวดอยู่ 2-3 วัน รวมทั้งจะมีอาการระคายเคืองร่วมด้วยและ ถ้าสารพิษเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบได้
แหล่งที่พบ
กิ้งกือชอบอยู่ตามที่ชื้นเย็นๆ
โดยมักพบอยู่ตามใต้ กองหิน ในดิน รวมทั้งกองใบไม้ที่ร่วงทับถมกัน จะพบชกชุมในฤดูฝน
ออกหากินในเวลากลางคืน บางครั้งอาจพบหลงเข้ามาอยู่ใน บริเวณบ้าน โดยหลบซ่อนตัวอยู่
ตามห้องน้ำ
การป้องกัน
เมื่อถูกพิษของกิ้งกือให้ล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่แล้วเช็ดบริเวณที่ถูกพิษด้วย
แอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเพื่อล้างพิษออกอาจรบประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติด
เชื้อ หากพิษเข้าตาให้รีบล้างด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำสะอาดธรรมดาแล้วรีบไปพบแพทย์ ทันที
อ้างถึงhttp://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/applications/files/insect2.pdf